วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ ฟิสิกส์พื้นฐาน ว30101

แผนการจัดการเรียนรู้ที่   1
รายวิชาฟิสิกส์พื้นฐาน                                           ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5
หน่วยการเรียนรู้ที่  1  การเคลื่อนที่แบบต่างๆ                          เวลา    20   ชั่วโมง    
หน่วยย่อยที่  1  ปริมาณต่างๆของการเคลื่อนที่แนวเส้นตรง เวลา  2  ชั่วโมง
***************************************************************************
มาตรฐาน        ว 4.2   เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติ มี
กระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

ตัวชี้วัด                     ทดลองและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการกระจัด เวลา ความเร็ว ความเร่งของการเคลื่อนที่ในแนวตรงและคำนวณหาปริมาณที่เกี่ยวข้อง

สาระการเรียนรู้

1.       ปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่แนวเส้นตรง

2.       ความหมายและการคำนวณหาตำแหน่ง ระยะทาง การกระจัดของการเคลื่อนที่

แนวเส้นตรง

3.       ความหมายและการคำนวณหาอัตราเร็วและความเร็วของการเคลื่อนที่แนว

เส้นตรง


สาระสำคัญ
การเคลื่อนที่ของวัตถุเป็นผลมาจากการที่มีแรงไปกระทำต่อวัตถุ  ทำให้วัตถุเปลี่ยนแปลงสภาพโดยเปลี่ยนตำแหน่งจากจุดที่ 1 ไปยังจุดที่ 2 โดยการเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุจะทำให้เกิดปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่  เป็นขบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนตำแหน่งอย่างต่อเนื่องตามเวลาที่ผ่านไปโดยมีทิศทาง  และระยะทาง  โดยมีลักษณะทางการเคลื่อนที่เป็นแนวเส้นตรง

ผลการเรียนรู้
1. อธิบายความหมายของตำแหน่ง ระยะทาง การกระจัด อัตราเร็ว  ความเร็วของการเคลื่อนที่แนวเส้นตรง
2. คำนวณหาปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่แนวเส้นตรง

จุดประสงค์การเรียนรู้

1.       อธิบายความหมายเกี่ยวกับปริมาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ได้
2.       อธิบายความหมายของตำแหน่ง ระยะทาง การกระจัด อัตราเร็ว และความเร็วของวัตถุได้
3.       คำนวณหาตำแหน่ง ระยะทาง การกระจัด อัตราเร็ว และความเร็วของวัตถุได้
4.       อธิบายลักษณะของการเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงได้
5.       จำแนกปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่แนวเส้นตรงได้

สมรรถนะ
1.       ใฝ่เรียนรู้
2.       มุ่งมั่นในการทำงาน

กระบวนการเรียนรู้
1.      กิจกรรมนำเข้าสู่การเรียนรู้  เวลาเรียน  15 นาที
1.1   ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ
          1.2   นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน   จำนวน   10   ข้อ
2.      กิจกรรมการเรียนรู้   
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้  ซึ่งมีขั้นตอน  ดังนี้
1.  ขั้นสร้างความสนใจ   เวลาเรียน  15 นาที
1.1  ครูและนักเรียนร่วมกันสังเกตภาพการเคลื่อนที่ลักษณะต่าง ๆ ที่ครูนำมาแสดง
ตัวอย่าง ภาพที่ 1 6 ผ่านจอโปรเจคเตอร์ร่วมกัน
1.2  ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายในประเด็นต่อไปนี้
  -   การเคลื่อนที่ในแนวตรงเป็นการเคลื่อนที่ในลักษณะใด
  -   ปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ในแนวตรงมีอะไรบ้าง และปริมาณต่าง ๆ ของการเคลื่อนที่แนวเส้นตรง เช่น ตำแหน่ง ระยะทาง การระจัด อัตราเร็วและความเร็ว
1.2   ครูสุ่มให้นักเรียนยกตัวอย่างการเคลื่อนที่แนวเส้นตรงที่เห็นในชีวิตประจำวันเพิ่มเติม

2.  ขั้นสำรวจและค้นหา   เวลาเรียน  40 นาที
2.1  ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละ  4 – 5  คน โดยให้นักเรียนเก่ง อ่อน  ชาย
หญิง คละกัน
2.2  นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณต่าง ๆ ของการเคลื่อนที่แนว
เส้นตรงจากใบความรู้ที่ 1 เรื่องตำแหน่ง ระยะทางและการกระจัดของการเคลื่อนที่แนวเส้นตรง ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง อัตราเร็ว ใบความรู้ที่ 3 เรื่อง ความเร็ว
2.3 นักเรียนอภิปรายความรู้ในกลุ่มแล้วสรุปสาระสำคัญ บันทึกลงในสมุดจดทุกคน

3.  ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป   เวลาเรียน  30 นาที
3.1  ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับสมการและการคำนวณหาระยะทางและการกระจัด
โดยคำนวณตามใบความรู้ที่ 1 แล้วให้นักเรียนทำใบงานที่ 1 ใบงานที่ 3 ใบงานที่ 5
3.2  ตัวแทนกลุ่มนักเรียนแต่ละกลุ่มรวบรวมใบงานส่ง
3.3  ครูสุ่มนักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานตามใบงานที่ 1 ใบงานที่ 3 ใบงานที่ 5
                   3.4  นักเรียนแก้ไขข้อที่ผิดทุกคนด้วยปากกาสีแดงหรือดินสอ

4.  ขั้นขยายความรู้   เวลาเรียน 40  นาที
4.1  ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับแนวคิดที่น่าสนใจเกี่ยวกับความ
แตกต่างของคำตอบของนักเรียนแต่ละกลุ่ม
                   4.2  นักเรียนทำกิจกรรมเพิ่มเติม ใบงานที่ 2 ใบงานที่ 4 ใบงานที่ 6
4.3 นักเรียนแต่ละกลุ่มรวบรวมใบงานส่ง
4.4 ครูและนักเรียนร่วมอภิปรายคำตอบร่วมกันและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อ
แตกต่างของคำตอบของนักเรียนแต่ละกลุ่ม

5.  ขั้นประเมิน   เวลาเรียน  20 นาที
                   5.1  ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าในหัวข้อที่เรียนมาและในการปฏิบัติกิจกรรมมีจุดใดบ้างที่ยังเข้าใจไม่ชัดเจนหรือยังมีข้อสงสัย  ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติม และทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถาม
5.2  นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นถึงประโยชน์ที่ได้จากหัวข้อที่เรียน  จากการ
ทำกิจกรรม และการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
5.3  ครูและนักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหา / อุปสรรค
ใดและได้มีการแก้ไขอย่างไร  ครูชมเชยกลุ่มที่ทำงานได้ดี  ให้กำลังใจและข้อเสนอแนะแก่กลุ่มที่ควรปรับปรุง
          5.4 นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน   จำนวน   10   ข้อ

สื่อ / นวัตกรรม / เทคโนโลยีที่ใช้
     1.  แบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน
2.  สื่อ สิ่งพิมพ์และเว็บไซต์ต่าง ๆ ทางอินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวข้อง
3.  หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน การเคลื่อนที่และพลังงาน สสวท. พ.ศ.2551,หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติม ฟิสิกส์ เล่ม 1 สสวท พ.ศ.2554,หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติม ฟิสิกส์ เล่ม 1 สสวท พ.ศ.2552
4. ใบความรู้แบ่งเป็น
- ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง   ตำแหน่ง ระยะทาง และการกระจัด  
                   - ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง  อัตราเร็ว
- ใบความรู้ที่ 3 เรื่อง  ความเร็ว
          5. ใบงานแบ่งเป็น
- ใบงานที่ 1
- ใบงานที่ 2
- ใบงานที่ 3
- ใบงานที่ 4
- ใบงานที่ 5
- ใบงานที่ 6
แหล่งเรียนรู้
1.  ห้องสมุดโรงเรียน
2.  ห้องสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
3.  ห้องสมุดกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
4. ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์

การวัดและประเมินผล
1.       วิธีการวัดและประเมินผล
     1.1    ตรวจความถูกต้องของการทำแบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน
     1.2    ตรวจใบงาน
     1.3    สังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
     1.4    สังเกตพฤติกรรมคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะอันพึ่ง
ประสงค์
2. เครื่องมือวัดและประเมินผล
           2.1   แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน
           2.2   แบบเฉลยใบงาน
           2.3   แบบประเมินพฤติกรรมกลุ่ม 
           2.4   แบบประเมินคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
            3. เกณฑ์การวัดและประเมินผล
                      3.1   ความถูกต้องของแบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียนจะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่า  6 ข้อจาก 10 ข้อ
                      3.2   ความถูกต้องของใบงานต้องได้คะแนน  50%  ของคะแนนเต็ม
                      3.3   การประเมินพฤติกรรมกลุ่มจะต้องได้ระดับพอใช้ขึ้นไป
                      3.4   เกณฑ์การประเมินคุณธรรม  จริยธรรม  ค่านิยมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้ได้ระดับดีขึ้นไป










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น